food art lights graffiti

7 ลักษณะตรายี่ห้อที่ดี

ตรายี่ห้อมีความหมายที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะ ดังนี้
ตราสินค้า (Brand) หมายถึง ชื่อ คำพูดที่แสดงออกถึงความคิด เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือ
รูปแบบ หรือหลายๆ สิ่งรวมกัน เพื่อระบุให้ความเห็นแตกต่างของผลิตภัณฑ์จากแต่ละผู้ผลิตหรือผู้ขาย หรือ
บริการของผู้ขายหรือกลุ่มของผู้ขายที่แสดงความแตกต่างจากคู่แข่งขัน


ชื่อตรา (Brand Name)

เป็นส่วนหนึ่งของตราที่อ่านออกเสียงได้ เช่น มะลิ โซน ฯลฯ
เครื่องหมายตราสินค้า (Brand Mark) ส่วนหนึ่งของตรายี่ห้อที่มีลักษณะเจาะจงอาจเป็น
สัญลักษณ์รูปแบบสี ลักษณะและขนาดของตัวอักษรที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และไม่สามารถออกเสียงได้
ส่วนหนึ่งของตรา ซึ่งสามารถเห็นและจดจำได้ แต่ไม่สามารถอ่านออกเสียง เช่น สัญลักษณ์ รูปแบบ โลโก้
(Logo) หรือตัวอักษร รูปภาพ สีสัน ฯลฯ

เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) หมายถึง ตรา (Brand) หรือส่วนหนึ่งของตราที่ได้รับการ
คุ้มครองกฎหมายให้กับผู้ขายผลิตภัณฑ์ ใช้สำหรับป้องกันสิทธิ์ตามกฎหมายแต่ผู้เดียว มีให้ผู้อื่นล่วงสิทธิ์ของ
ตราชนิดนี้ จะคุ้มครองสิทธิของผู้เป็นเจ้าของซึ่งผู้ใดจะล่วงละเมิดสิทธิมิได้ หมายรวมได้ทั้งส่วนของตรายี่ห้อ
ที่ออกเสียงใต้และออกเสียงไม่ได้

ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธแต่ผู้เดียวตามกฎหมายในการพิมพ์หรือพิมพ์ เช่น
บทความ ดนตรี หรืองานศิลป์ เป็นต้น

ชนิดของตรายี่ห้อ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น คือ


1. ตรายี่ห้อของผู้ผลิต (Manufacture Brand) หมายถึง ตรายี่ห้อที่ผู้ผลิตกำหนดขึ้นและ
กระจายผลิตภัณฑ์ออกขายในตลาดทั่วไป จึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า National Brand


2. ตรายี่ห้อของพ่อค้าคนกลาง (Middleman Brand) เป็นตรายี่ห้อที่ผู้ขายหรือผู้สั่งซื้อ/ว่าจ้าง
ผู้ผลิตให้ผลิตให้แล้ว ผู้ขายจึงมากำหนดตรายี่ห้อเป็นของตนเองเพื่อขาย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Private Brand


3. Incorres Brand หมายถึง ตรายี่ห้อที่มีชื่อเสียงติตตลาดแล้ว ผู้ขายที่ต้องการยี่ห้อนี้ไปใช้
กับผลิตภัณฑ์ของตนจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้ชื่อตรายี่ห้อเสียก่อน เช่น ชื่อ Sesame Street เป็นต้น


ความสำคัญของตรายี่ห้อ

ผู้บริโภคส่วนใหญ่พึงพอใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ทั้งนี้เพราะตรายี่ห้อทำให้ผู้บริโภคแน่ใจว่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการถูกต้องแล้วและมั่นใจได้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อภายใต้ยี่ห้อที่ระบุไว้นั้น ตรายี่ห้อทำให้กระบวนการซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวคือผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบซื้อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้จากหลายๆ ยี่ห้อ และสามารถเห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ในแต่ละยี่ห้อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้การตัดสินใจซื้อง่าย และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ ผู้ขายเองก็พึงพอใจที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อเพราะขายได้ง่ายกว่า

เมื่อผู้บริโภคระบุชื่อตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการซื้อ ผู้ขายก็สามารถรับคำสั่งซื้อได้ทันที ตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ทำให้ผู้ขายขายออกจากกันได้ชัดเจนสามารถตกแต่งและจัดวางผลิตภัณฑ์ที่ขายได้สวยงามมากขึ้น และสามารถแยกส่วนแบ่งการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ในส่วนของผู้ผลิตสามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีตรายี่ห้อเข้าเสนอขาย และแนะนำในตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ง่ายกว่าการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีตรายี่ห้อ

ผู้ผลิตสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ที่จะเสนอขายสู่ตลาดมีความหลากหลายแตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิมๆ ที่มีขายอยู่แล้วในตลาดและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้หลาย ๆ ส่วน ในเวลาเดียวกัน เช่น เมื่อต้องการขายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ละคนและตลาดก็ผลิตสินค้าออกมาให้คุณภาพต่างกัน ราคาต่างกันเพื่อส่วนตลาดที่ต่างกัน โดยผู้บริโภคแต่ละส่วนตลาดสามารถเห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน สังคมโดยรวมก็ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่มีตรายี่ห้อเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อผู้ผลิตต้องการเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อขายในตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ขายต้องมีความแตกต่างชัดเจนจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันนั้นผู้ผลิตจำเป็นต้องคิดค้นและนำเสนอประโยชน์และรูปแบบใหม่ๆ ของผู้บริโภค บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่ามากขึ้นกว่าเดิม

ลักษณะของตรายี่ห้อที่ดี จากความสำคัญดังกล่าว จึงอาจสรุปถึงลักษณะได้ดังนี้


1. ง่ายต่อการออกเสียง และจำได้ เช่น Amazon, Alibaba, Apple, Lazada ชื่อแบรนด์เหล่านี้ล้วนแต่จำง่ายทั้งสิ้นทำให้มีผลดีต่อการบอกต่อ การค้นหาคีย์เวิร์ด


2. ช่วยแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ขาย การออกแบบตรายี่ห้อต้องสอดคล้องกับลักษณ์สินค้าหรือกลุ่มธุรกิจ ตราที่เหมาะกับสินค้าจะช่วยส่งเสริมสินค้า

3. มีความหมายดี เพราะความหมายที่ดีจะมีผลทางจิตวิทยาต่อการจดจำภาพลักษณ์ที่ดี


4. สร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ได้ง่าย


5. เมื่อต้องการเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์เข้ามาในสายผลิตภัณฑ์เดิมก็สามารถเพิ่มเติมจากยี่ห้อเดิม คือ ชื่อตรายี่ห้อไม่เฉพาะเจาะจงเกิดไป เมื่อต้องการเพิ่มประเภทสินค้าก็สามารถเพิ่มได้หลายๆ ทำให้ในอนาคตสามารถขยายฐานลูกค้าได้ง่าย


6. สามารถนำไปจดทะเบียนคุ้มครองการลอกเลียนแบบได้


7. มีความเป็นสากล พร้อมที่จะขยายตลาด

ที่มาแหล่งอ้างอิง : ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล